การจัดกิจกรรม TAIA Meets the Press ในหัวข้อ “ทิศทางอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย” โดยสมาคมอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย (TAIA) ร่วมกับ สมาคมผู้สื่อข่าวรถยนต์และรถจักรยานยนต์ไทย (สรยท.)
และบริษัท กรังด์ปรีซ์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) ผู้จัดงานบางกอก อินเตอร์เนชั่นแนล มอเตอร์โชว์ เมื่อวันที่ 30 มีนาคมที่ผ่านมา เผยข้อมูลการลงทุนอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยยังสดใส มั่นใจนโยบายส่งเสริมผลิตรถพลังงานไฟฟ้าในประเทศ ผลักดันไทยเป็นฐานผลิตสำคัญในอนาคต หวังให้จัดตั้งรัฐบาลได้รวดเร็วหลังเลือกตั้ง ต่อยอดแผนพัฒนาภาคการผลิตรถยนต์ไทยไม่ให้สะดุด
นายสุวัชร์ ศุภกาญจน์เดชากุล นายกสมาคมอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย (The Thai Automotive Industry Association : TAIA) เปิดเผยตัวเลขการผลิตรถยนต์ในประเทศไทยปี 2565 มีจำนวน 1.88 ล้านคัน มีอัตราการเติบโต 12% เทียบกับปี 2564 และอยู่อันดับ 10 ของโลก แต่ยังครองแชมป์ผลิตรถยนต์มากที่สุดในอาเซียน เป็นการผลิตเพื่อจำหน่ายภายในประเทศ 8.50 แสนคัน เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้า 11% และผลิตเพื่อการส่งออก 1.04 ล้านคัน เพิ่มขึ้น 5.13%
ส่วนปี 2566 นี้ TAIA คาดการณ์ผลิตรถยนต์ทั้งสิ้นที่ 1.95 ล้านคัน เป็นการผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศ 9 แสนคัน และเพื่อส่งออก 1.05 ล้านคัน ส่วนรถจักรยานยนต์ 2.10 ล้านคัน ผลิตเพื่อขายในประเทศ 1.75 ล้านคัน และเพื่อส่งออก 3.5 แสนคัน
นายสุวัชร์ กล่าวว่า อุตสาหกรรมยานยนต์มีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่อง ยังได้กล่าวถึงปัจจัยบวกที่จะมาผลักดันตลาดยานยนต์ภายในประเทศว่า ส่วนหนึ่งมาจากสถานการณ์เศรษฐกิจดีขึ้นหลังจากโควิด-19 ผ่อนคลาย ทำให้ผู้บริโภคมีรายได้ และมีกำลังซื้อเพิ่มขึ้น การท่องเที่ยวฟื้นตัว มีการลงทุน มีการบริโภคทั้งภาครัฐและเอกชน ภาคการเกษตรขยายตัวทั้งผลผลิตและราคา ตลาดอีคอมเมิร์ซเข้ามามีบทบาทกับการบริโภคและมีอัตราการเติบโตแบบก้าวกระโดด ซึ่งจะส่งผลดีกับตลาดรถยนต์เพื่อการพาณิชย์โดยตรง
ด้านแนวโน้มตลาดยานยนต์ไฟฟ้าของประเทศไทยมีแนวโน้มการเติบโตสูง ส่วนหนึ่งมาจากการออกมาตรการมาสนับสนุนยานยนต์ไฟฟ้าของภาครัฐ ระยะเวลาโครงการระหว่างปี 2565 - 2569 โดยได้รับสิทธิประโยชน์เงินอุดหนุน 70,000 – 150,000 บาท
นอกจากนี้ยังปรับลดภาษีสรรพสามิตรและภาษีนำเข้า พร้อมทั้งมีข้อกำหนดต้องผลิตภายในประเทศชดเชยการนำเข้ารถไฟฟ้าก่อนหน้านี้ เช่น ยกเว้นอากรชิ้นส่วนสำคัญ 9 รายการ ที่จะนำมาใช้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้า และยกเว้นภาษีเงินได้ สำหรับผู้ประกอบการที่ได้รับเงินอุดหนุนดังกล่าวอีกด้วย
ด้านแนวโน้มตลาดยานยนต์ไฟฟ้าของประเทศไทยมีแนวโน้มการเติบโตสูง ส่วนหนึ่งมาจากการออกมาตรการมาสนับสนุนยานยนต์ไฟฟ้าของภาครัฐ ระยะเวลาโครงการระหว่างปี 2565 - 2569 โดยได้รับสิทธิประโยชน์เงินอุดหนุน 70,000 – 150,000 บาท
นอกจากนี้ยังปรับลดภาษีสรรพสามิตรและภาษีนำเข้า พร้อมทั้งมีข้อกำหนดต้องผลิตภายในประเทศชดเชยการนำเข้ารถไฟฟ้าก่อนหน้านี้ เช่น ยกเว้นอากรชิ้นส่วนสำคัญ 9 รายการ ที่จะนำมาใช้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้า และยกเว้นภาษีเงินได้ สำหรับผู้ประกอบการที่ได้รับเงินอุดหนุนดังกล่าวอีกด้วย
“เนื่องจากราคารถไฟฟ้ามีแนวโน้มต่ำลงต่ำกว่าหนึ่งล้านบาท ทำให้ผู้บริโภคเข้าถึงได้ง่าย เพราะผู้บริโภคจะพิจารณาซื้อรถยนต์ไฟฟ้าที่ราคาไม่สูงมาก เน้นความคุ้มค่าในการใช้งาน เป็นอีกปัจจัยสำคัญให้ตลาดรถไฟฟ้ามีแนวโน้มดี และปัจจุบันนี้ก็มีจำนวน 11 แบรนด์ ได้ทำบันทึกความเข้าใจกับกรมสรรพสามิต (MOU) เพื่อผลิตรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย คือ เอ็มจี, จีดับเบิลยูเอ็ม, โตโยต้า, บีวายดี, มินิ, โวลต, เนต้า และเมอร์เซเดส-เบนซ์” นายสุวัชร์ กล่าว และว่าส่วนของรถจักรยานยนต์มี 3 แบรนด์ คือ ฮอนด้า, เอชเซม และเดโก้ เมื่อแนวโน้มยานยนต์ไฟฟ้าราคาลดลง ได้รับการยอมรับจากผู้บริโภค จะมีส่วนสำคัญต่อสังคมไทย และการสร้างความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ลดการปล่อยมลพิษ
ซึ่งสอดคล้องกับโครงสร้างภาษีสรรพสามิตรใหม่อีกด้วย”
ซึ่งสอดคล้องกับโครงสร้างภาษีสรรพสามิตรใหม่อีกด้วย”
นายสุวัชร์ กล่าวอีกว่า แม้จะมีปัจจัยบวกอยู่หลายส่วน แต่ปัจจัยลบยังคงมีเรื่องของความมั่นใจด้านการเมือง หากหลังเลือกตั้ง สามารถจัดตั้งรัฐบาลได้อย่างรวดเร็วคงไม่เป็นปัญหา แต่หากการจัดตั้งรัฐบาลมีความล่าช้ากว่าที่คาดการณ์คือราวเดือนสิงหาคม 2566 อาจส่งผลกระทบในเรื่องความเชื่อมั่น รวมถึงเรื่องของสภาวะเงินเฟ้อที่ทั่วโลกกำลังเผชิญ ซึ่งส่งผลต่อการขึ้นดอกเบี้ยในหลายๆ ประเทศนั่นเอง
ดร.ปราจิน เอี่ยมลำเนา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท กรังด์ปรีซ์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด(มหาชน) และประธานจัดงานบางกอก อินเตอร์เนชั่นแนล มอเตอร์โชว์ มั่นใจงานแสดงรถยนต์มอเตอร์โชว์มีส่วนผลักดันในตลาดรถยนต์และรถจักรยานยนต์เติบโตได้อย่างมาก เนื่องจากช่วงของการจัดงานมีทั้งการเปิดตัวรถยนต์รุ่นใหม่ และแคมเปญส่งเสริมการขายที่ช่วยกระตุ้นยอดรถยนต์ในแต่ละปีให้เติบโตได้อย่างมาก โดยเฉพาะการเข้ามาของรถพลังงานไฟฟ้าหรือ รถ EVจากประเทศจีนหลายๆ ยี่ห้อ ทำให้ธุรกิจยานยนต์ของไทยมีความโดดเด่นมากในกลุ่มอาเซียน และคาดว่าจะมีรถ EV จากจีนอีกหลายๆ แบรนด์ที่อยากเข้ามาลงทุนในประเทศไทย
นายวชิระ เรืองมาลัย สมาคมผู้สื่อข่าวรถยนต์และรถจักรยานยนต์ไทย (สรยท.) กล่าวถึงกิจกรรม TAIA Meets the Press เป็นการประสานงานร่วมกัน 3 ฝ่าย เพื่อให้สมาชิกสมาคมฯ และสื่อมวลชน ได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง เชื่อถือได้ และเป็นประโยชน์ต่อการรายงานข่าวสาร รวมถึงการสร้าง Content ของสื่อออนไลน์ กระจายให้กับสาธารณะชนได้รับทราบ ซึ่งสรยท.ต้องการให้สื่อมวลชนและสมาชิกสมาคมฯ ได้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพในการให้ข้อมูลเกี่ยวกับอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย
COMMENTS