สมาคมผู้สื่อข่างรถยนต์และจักรยานยนต์ไทย (สรยท.) หรือ (Thailand Automotive Journalists Association : TAJA) จัดเสวนาทางวิชาการ หัวข้อ “ชี้แนวร่วมรัฐ เอกชน เปิดยุทธศาสตร์ยานยนต์ใหม่ รุกทันกระแสโลก...?” โดยมีผู้บริหารจากบริษัทรถยนต์ชั้นนำ และองค์กรภาคเอกชนมาร่วมแสดงความคิดเห็นเทรนด์ของอุตสาหกรรมยานยนต์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
นายสุรพงษ์ ไพสิฐพัฒนพงษ์ รองประธานและโฆษกกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (สอท.) กล่าวถึงภาพรวมของอุตสาหกรรมยานยนต์ว่า เนื่องจากปีนี้อุตสาหกรรมรถยนต์ก้าวสู่มิติใหม่นั้นคือแนวโน้มการผลิตรถยนต์เพิ่มขึ้นตามความต้องการของตลาด โดยยอดการผลิตรถยนต์ทุกแบรนด์ในเดือนตุลาคม 2561 อยู่ที่ 197,203 คัน เพิ่มขึ้น 20.62 เปอร์เซ็นต์ จากปีที่ผ่านมา รถยนต์นั่งมียอดการผลิต 76,905 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีที่ผ่านมา 9.31 เปอร์เซ็นต์ ส่วนรถกระบะ 1 ตัน มียอดการผลิต 117,539 คัน เพิ่มขึ้น 30.15 เปอร์เซ็นต์ จะสังเกตเห็นได้ว่าในช่วงนี้การผลิตรถกระบะ 1 ตัน จำนวนเพิ่มมากขึ้น อันนี้ชี้ให้เห็นถึงการเติบของเศรษฐกิจของประเทศ เพราะรถกลุ่มนี้ผู้บริโภคจะซื้อไปใช้ในเชิงพาณิชย์เป็นหลัก ซึ่งคาดว่าการผลิตรถในเดือนพฤศจิกายน 2561 จะยังคงใกล้เคียงกับเดือนตุลาคม ด้วยเหตุที่ผู้ผลิตต้องเร่งผลิตรถล่วงหน้าเพื่อชดเชยวันหยุดในช่วงเทศกาลปีใหม่ และผลิตรถรองรับยอดจองที่จะเกิดขึ้นในงานมหกรรมยานยนต์ ครั้งที่ 35 ซึ่งคาดว่าจะมียอดจองประมาณ 4-5 หมื่นคัน
ทางด้านสถิติการผลิตรถยนต์ระหว่างเดือนมกราคม-ตุลาคม 2561 รวมทุกประเภทอยู่ที่ 1,801,319 คัน เพิ่มขึ้น 9.75 เปอร์เซ็นต์ แบ่งเป็นรถยนต์นั่งผลิตอยู่ที่ 738,340 คัน เพิ่มขึ้นจากปีก่อหน้า 8.19 เปอร์เซ็นต์ รถโดยสารมากกว่า 10 ตัน ผลิต 437 คัน เพิ่มขึ้น 95.09 เปอร์เซ็นต์ รถบรรทุกมากว่า 5 ตัน แต่ไม่เกิน 10 ตัน ผลิต26,899 คัน เพิ่มขึ้น 3.83 เปอร์เซ็นต์ ส่วนรถกระบะ 1 ตัน 1,035,643 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า 11.05 เปอร์เซ็นต์ การผลิตรถบรรทุกขนาดใหญ่และการผลิตกระบะ 1 ตัน เติบโตเป็นดรรชนีชี้วัดเศรษฐกิจของประเทศไทยที่ขยายตัวเติบโตขึ้นอีกด้วย เนื่องจากการผลิตรถกระบะ 1 ตัน เพื่อจำหน่ายในประเทศไทย 55 เปอร์เซ็นต์ และเพื่อการส่งออก 45 เปอร์เซ็นต์
เมื่อมาดูสถิติการผลิตรถยนต์เพื่อการส่งออกและจำหน่ายภายในประเทศระหว่างเดือนมกราคม-ตุลาคม 2561 มีการผลิตเพื่อการส่งออกรวมทั้งสิ้น 961,615 คัน เพิ่มขึ้น 2.42 เปอร์เซ็นต์ แบ่งเป็นรถยนต์นั่ง 349,085 คัน ลดลงจากปีก่อนหน้า 0.01 เปอร์เซ็นต์ รถกระบะ 1 ตัน 612,530 คัน เพิ่มขึ้น 3.86 เปอร์เซ็นต์ รถกระบะบรรทุก 74,068 คัน ลดลง 2.10 เปอร์เซ็นต์ ระกระบะดับเบิลแค็บ 441,493 คัน เพิ่มขึ้น 5.28 เปอร์เซ็นต์ รถอเนกประสงค์ PPV จำนวน 96,969 คัน เพิ่มขึ้น 2.32 เปอร์เซ็นต์ขณะที่การผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศรมทั้งสิ้น 839,704 คัน เพิ่มขึ้น 19.56 เปอร์เซ็นต์ แบ่งเป็นรถยนต์นั่ง 389,255 คัน เพิ่มขึ้น 16.77 เปอร์เซ็นต์ รถกระบะ 1 ตัน 423,113 คัน เพิ่มขึ้น 23.41 เปอร์เซ็นต์ แบ่งย่อยเป็นรถกระบะเพื่อการบรรทุก 215,212 คัน เพิ่มขึ้น 18.23 เปอร์เซ็นต์ รถกระบะดับเบิลแค็บ 150,562 คัน เพิ่มขึ้น 31.84 เปอร์เซ็นต์ รถอเนกประสงค์ PPV 57,339 คัน เพิ่มขึ้น 22.96 เปอร์เซ็นต์ รถยนต์โดยสาร 10 ตัน ขึ้นไป 437 คัน เพิ่มขึ้น 95.09 เปอร์เซ็นต์ และรถบรรทุก 26,899 คัน เพิ่มขึ้น 3.83 เปอร์เซ็นต์
“การเติบโตขึ้นของตลาดรถกระบะเพื่อบรรทุกเป็นดรรชนีชี้ให้เห็นถึงการเติบโตของเศรษฐกิจภายในประเทศ เนื่องจากความต้องการใช้รถของผู้บริโภคเพื่อใช้งานเพื่อการพาณิชย์ อุตสาหกรรมก่อสร้าง-โครงพื้นฐาน และเกษตรกรรม นอกจากนี้ความต้องการรถยนต์ในกลุ่มรถอเนกประสงค์ SUV ยังสดใสตลาดเติบโตสูงอย่างต่อเนื่อง โดยในเดือนตุลาคมที่ผ่านมาส่วนแบ่งจากตลาดจากกลุ่มรถยนต์นั่งสูงถึง 69 เปอร์เซ็นต์ โดยปัจจัยบวกมาจากขนาดเครื่องยนต์เล็กลง ทำให้ราคาลดลง ผู้บริโภคเข้าถึงได้ง่ายขึ้น อัตราการเติบโตจึงดีมากๆ นอกจากนี้ตลาดรถอเนกประสงค์ PPV ยังเติบโต 8.9 เปอร์เซ็นต์ ชี้ให้เห็นว่าผู้บริโภคยังมีความต้องการผลิตภัณฑ์รถยนต์ในกลุ่มนี้” นายสุรพงษ์ กล่าว
เมื่อมาดูสถิติการผลิตรถยนต์เพื่อการส่งออกและจำหน่ายภายในประเทศระหว่างเดือนมกราคม-ตุลาคม 2561 มีการผลิตเพื่อการส่งออกรวมทั้งสิ้น 961,615 คัน เพิ่มขึ้น 2.42 เปอร์เซ็นต์ แบ่งเป็นรถยนต์นั่ง 349,085 คัน ลดลงจากปีก่อนหน้า 0.01 เปอร์เซ็นต์ รถกระบะ 1 ตัน 612,530 คัน เพิ่มขึ้น 3.86 เปอร์เซ็นต์ รถกระบะบรรทุก 74,068 คัน ลดลง 2.10 เปอร์เซ็นต์ ระกระบะดับเบิลแค็บ 441,493 คัน เพิ่มขึ้น 5.28 เปอร์เซ็นต์ รถอเนกประสงค์ PPV จำนวน 96,969 คัน เพิ่มขึ้น 2.32 เปอร์เซ็นต์ขณะที่การผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศรมทั้งสิ้น 839,704 คัน เพิ่มขึ้น 19.56 เปอร์เซ็นต์ แบ่งเป็นรถยนต์นั่ง 389,255 คัน เพิ่มขึ้น 16.77 เปอร์เซ็นต์ รถกระบะ 1 ตัน 423,113 คัน เพิ่มขึ้น 23.41 เปอร์เซ็นต์ แบ่งย่อยเป็นรถกระบะเพื่อการบรรทุก 215,212 คัน เพิ่มขึ้น 18.23 เปอร์เซ็นต์ รถกระบะดับเบิลแค็บ 150,562 คัน เพิ่มขึ้น 31.84 เปอร์เซ็นต์ รถอเนกประสงค์ PPV 57,339 คัน เพิ่มขึ้น 22.96 เปอร์เซ็นต์ รถยนต์โดยสาร 10 ตัน ขึ้นไป 437 คัน เพิ่มขึ้น 95.09 เปอร์เซ็นต์ และรถบรรทุก 26,899 คัน เพิ่มขึ้น 3.83 เปอร์เซ็นต์
“การเติบโตขึ้นของตลาดรถกระบะเพื่อบรรทุกเป็นดรรชนีชี้ให้เห็นถึงการเติบโตของเศรษฐกิจภายในประเทศ เนื่องจากความต้องการใช้รถของผู้บริโภคเพื่อใช้งานเพื่อการพาณิชย์ อุตสาหกรรมก่อสร้าง-โครงพื้นฐาน และเกษตรกรรม นอกจากนี้ความต้องการรถยนต์ในกลุ่มรถอเนกประสงค์ SUV ยังสดใสตลาดเติบโตสูงอย่างต่อเนื่อง โดยในเดือนตุลาคมที่ผ่านมาส่วนแบ่งจากตลาดจากกลุ่มรถยนต์นั่งสูงถึง 69 เปอร์เซ็นต์ โดยปัจจัยบวกมาจากขนาดเครื่องยนต์เล็กลง ทำให้ราคาลดลง ผู้บริโภคเข้าถึงได้ง่ายขึ้น อัตราการเติบโตจึงดีมากๆ นอกจากนี้ตลาดรถอเนกประสงค์ PPV ยังเติบโต 8.9 เปอร์เซ็นต์ ชี้ให้เห็นว่าผู้บริโภคยังมีความต้องการผลิตภัณฑ์รถยนต์ในกลุ่มนี้” นายสุรพงษ์ กล่าว
จากการความต้องการของตลาดภายในประเทศมากขึ้นคาดว่า ประมาณการการผลิตรถยนต์ในประเทศไทยจะสร้างสถิติใหม่อีกครั้งที่ 2,100,000 คัน เติบโต 5.59 เปอร์เซ็นต์ เป็นการผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศ 1,000,000 คัน เพิ่มขึ้น 15.96 เปอร์เซ็นต์ และผลิตเพื่อการส่งออก 1,100,000 คัน ลดลง 2.35 เปอร์เซ็นต์ สำหรับการผลิตรถจักรยานยนต์ในเดือนตุลาคม 2561 รวมทั้งสิ้น 201,326 คัน เพิ่มขึ้น 2.78 เปอร์เซ็นต์ แบ่งเป็นผลิตรถจักรยานยนต์สำเร็จรูป (CBU) 167,314 คัน เพิ่มขึ้น 1.91 เปอร์เซ็นต์ และชิ้นส่วนประกอบ (CKD) 34,012 คัน เพิ่มขึ้น 2.78 เปอร์เซ็นต์ (คำนวณจากการใช้ชิ้นส่วนมากกว่า 70 เปอร์เซ็นต์คิดเป็น 1 คัน)
ทางด้านการผลิตรถยนต์ประหยัดพลังงาน (อีโคคาร์) ตั้งแต่เริ่มโครงการปี 2643- ตุลาคม 2561 มีการผลิตทั้งหมด 2,387,512 คัน ผลิตเพื่อส่งออก 1,314,492 คัน คิดเป็นเป็นสัดส่วน 55 เปอร์เซ็นต์ ผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศ 1,073,020 คัน คิดเป็นสัดส่วน 45 เปอร์เซ็นต์ ระหว่างเดือนมกราคม-ตุลาคม 2561 มีจำนวน 317,621 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า 7 เปอร์เซ็นต์ โดยเป็นการผลิตเพื่อกาส่งออก 145,183 คัน ลดลงจากช่วงเดียวกัน 12 เปอร์เซ็นต์ แลผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศ 172,438 คัน เพิ่มขึ้น 30 เปอร์เซ็นต์ จะเห็นได้ว่าในช่วงที่ผ่านมาการส่งออกอีโคคาร์ลดลง เนื่องจากความต้องการในประเทศเพิ่มขึ้น สัดส่วนการจำหน่ายอีโคคาร์ในประเทศเพิ่มเป็น 55 เปอร์เซ็นต์ ส่งออก 45 เปอร์เซ็นต์ จากในช่วงเดียวกันของปีก่อนจำหน่ายในประเทศ 45 เปอร์เซ็นต์ ส่งออก 55 เปอร์เซ็นต์ โดยอีโคคาร์มีสัดส่วนจากการผลิตรถทั้งหมด 317,621 คัน หรือมีสัดส่วนจากยอดการผลิตรถทั้งหมด 17.63 เปอร์เซ็นต์ เป็นการส่งออก 15.10 เปอร์เซ็นต์ จำหน่ายในประเทศ 20.54 เปอร์เซ็นต์
ส่วนสถิติการผลิตรถจักรยานยนต์เดือนมกราคม – ตุลาคม 2561 อยู่ที่ 2,130,381 คัน เพิ่มขึ้น 1.67 เปอร์เซ็นต์ แบ่งเป็นรถจักรยานยนต์สำเร็จรูป (CBU) จำนวน 1,724,595 คัน เพิ่มขึ้น 0.38 เปอร์เซ็นต์ และชิ้นส่วนประกอบ (CKD) จำนวน 405,786 คัน เพิ่มขึ้น 5.43 เปอร์เซ็นต์ เนื่องจากค่ายรถจักรยานยนต์ใช้ประเทศไทยเป็นการผลิตจักรยานยนต์บิ๊กไบค์เพื่อส่งออกไปต่างประเทศกำลังการผลิตจึงเพิ่มขึ้นตามคงามต้องการของตลาดโลก อย่างไรก็ตาม แม้กระแสรถยนต์ไฟฟ้าจะมาแรงทั่วโลก แต่สำหรับในประเทศไทยมีรถยนต์ไฟฟ้าจดทะเบียนสะสมถึงเดือนตุลาคม 2561 จำนวน 1.435 คัน เพิ่มขึ้น 61 เปอร์เซ็นต์ จากเดือนเมษายน 2561 ที่มียอดจดทะเบียนสะสม 1,374 คัน โดยแบ่งเป็นรถยนต์ส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน จำนวน 133 คัน เพิ่มขึ้น 45 เปอร์เซ็นต์ รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน 7 คน จำนวน 3 คัน รถจักรยานยนต์ส่วนบุคคล 1,131 คัน โดยรถไฟฟ้าส่วนใหญ่จะเป็นรถจักรยานยนต์มากกว่ารถยนต์
ทางด้านนายกฤษฎา อุตตโมทย์ ผู้อำนวยการฝ่ายสื่อสารกิจการองค์กร บริษัท บีเอ็มดับเบิลยู (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า ตลาดรถยนต์กลุ่มพรีเมี่ยมในปี 2560 ที่ผ่านมามีอัตราการเติบโตสูงถึง 27 เปอร์เซ็นต์ และคาดว่าปี 2561 อัตราการเติบโตของตลาดรถยนต์กลุ่มพรีเมี่ยมจะอยู่ที่ระดับ 28,000 คัน หรือมีอัตราการเติบโตจากปีก่อนหน้า 12 เปอร์เซ็นต์ โดยในปี 2559 บีเอ็มดับเบิลยูเริ่มให้ความสนใจเข้ามาทำตลาดรถยนต์ปลั๊กอินไฮบริด (Plug-in Hybrid) และรถยนต์ไฟฟ้า (Electric Vehicle) ซึ่งทางบีเอ็มดับเบิลยูได้มีการให้ความรู้เรื่องรถยนต์ปลั๊กอินไฮบริดกับผู้บริโภคผ่านการจัดสัมมนาทางวิชาการในรูปแบบต่างๆ และได้ขยายการให้ความรู้ไปสู่การให้ความรู้รถยนต์ไฟฟ้า นอกจากนี้ยังให้ทุนการสนับสนุนการวิจัยและพัฒนารถยนต์ไฮบริดกับสถาบันการศึกษาต่างๆในประเทศไทย โดยรวมไปถึงการลงทุนตั้งสถานีชาร์จไฟฟ้าทั่วประเทศ 50 สถานี ซึ่งจะดำเนินการได้ครบถ้วนภายในปีนี้ ผลของการดำเนินยุทธศาสตร์ดังกล่าวส่งผลให้ปีนี้รถยนต์บีเอ็มดับเบิลยูปลั๊กอินไฮบริดมีอัตราการเติบโตสูงถึง 112 เปอร์เซ็นต์ นอกจากนี้ บีเอ็มดับเบิลยูยังได้ลงทุนเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีที่ศูนย์พัฒนา Autonomous เมืองมิวนิก ประเทศเยอรมนี เพื่อตอบโจทย์ยุทธศาสตร์ทางธุรกิจยานยนต์ในอนาคตของบีเอ็มดับเบิลยูทั่วโลก 4 แนวทาง ที่จะมาเป็น Value Change กุญแจดอกสำคัญของอุตสาหกรรมยานยนต์ คือ
A: Autonomous
E: Electrified
ทางด้านการผลิตรถยนต์ประหยัดพลังงาน (อีโคคาร์) ตั้งแต่เริ่มโครงการปี 2643- ตุลาคม 2561 มีการผลิตทั้งหมด 2,387,512 คัน ผลิตเพื่อส่งออก 1,314,492 คัน คิดเป็นเป็นสัดส่วน 55 เปอร์เซ็นต์ ผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศ 1,073,020 คัน คิดเป็นสัดส่วน 45 เปอร์เซ็นต์ ระหว่างเดือนมกราคม-ตุลาคม 2561 มีจำนวน 317,621 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า 7 เปอร์เซ็นต์ โดยเป็นการผลิตเพื่อกาส่งออก 145,183 คัน ลดลงจากช่วงเดียวกัน 12 เปอร์เซ็นต์ แลผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศ 172,438 คัน เพิ่มขึ้น 30 เปอร์เซ็นต์ จะเห็นได้ว่าในช่วงที่ผ่านมาการส่งออกอีโคคาร์ลดลง เนื่องจากความต้องการในประเทศเพิ่มขึ้น สัดส่วนการจำหน่ายอีโคคาร์ในประเทศเพิ่มเป็น 55 เปอร์เซ็นต์ ส่งออก 45 เปอร์เซ็นต์ จากในช่วงเดียวกันของปีก่อนจำหน่ายในประเทศ 45 เปอร์เซ็นต์ ส่งออก 55 เปอร์เซ็นต์ โดยอีโคคาร์มีสัดส่วนจากการผลิตรถทั้งหมด 317,621 คัน หรือมีสัดส่วนจากยอดการผลิตรถทั้งหมด 17.63 เปอร์เซ็นต์ เป็นการส่งออก 15.10 เปอร์เซ็นต์ จำหน่ายในประเทศ 20.54 เปอร์เซ็นต์
ส่วนสถิติการผลิตรถจักรยานยนต์เดือนมกราคม – ตุลาคม 2561 อยู่ที่ 2,130,381 คัน เพิ่มขึ้น 1.67 เปอร์เซ็นต์ แบ่งเป็นรถจักรยานยนต์สำเร็จรูป (CBU) จำนวน 1,724,595 คัน เพิ่มขึ้น 0.38 เปอร์เซ็นต์ และชิ้นส่วนประกอบ (CKD) จำนวน 405,786 คัน เพิ่มขึ้น 5.43 เปอร์เซ็นต์ เนื่องจากค่ายรถจักรยานยนต์ใช้ประเทศไทยเป็นการผลิตจักรยานยนต์บิ๊กไบค์เพื่อส่งออกไปต่างประเทศกำลังการผลิตจึงเพิ่มขึ้นตามคงามต้องการของตลาดโลก อย่างไรก็ตาม แม้กระแสรถยนต์ไฟฟ้าจะมาแรงทั่วโลก แต่สำหรับในประเทศไทยมีรถยนต์ไฟฟ้าจดทะเบียนสะสมถึงเดือนตุลาคม 2561 จำนวน 1.435 คัน เพิ่มขึ้น 61 เปอร์เซ็นต์ จากเดือนเมษายน 2561 ที่มียอดจดทะเบียนสะสม 1,374 คัน โดยแบ่งเป็นรถยนต์ส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน จำนวน 133 คัน เพิ่มขึ้น 45 เปอร์เซ็นต์ รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน 7 คน จำนวน 3 คัน รถจักรยานยนต์ส่วนบุคคล 1,131 คัน โดยรถไฟฟ้าส่วนใหญ่จะเป็นรถจักรยานยนต์มากกว่ารถยนต์
ทางด้านนายกฤษฎา อุตตโมทย์ ผู้อำนวยการฝ่ายสื่อสารกิจการองค์กร บริษัท บีเอ็มดับเบิลยู (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า ตลาดรถยนต์กลุ่มพรีเมี่ยมในปี 2560 ที่ผ่านมามีอัตราการเติบโตสูงถึง 27 เปอร์เซ็นต์ และคาดว่าปี 2561 อัตราการเติบโตของตลาดรถยนต์กลุ่มพรีเมี่ยมจะอยู่ที่ระดับ 28,000 คัน หรือมีอัตราการเติบโตจากปีก่อนหน้า 12 เปอร์เซ็นต์ โดยในปี 2559 บีเอ็มดับเบิลยูเริ่มให้ความสนใจเข้ามาทำตลาดรถยนต์ปลั๊กอินไฮบริด (Plug-in Hybrid) และรถยนต์ไฟฟ้า (Electric Vehicle) ซึ่งทางบีเอ็มดับเบิลยูได้มีการให้ความรู้เรื่องรถยนต์ปลั๊กอินไฮบริดกับผู้บริโภคผ่านการจัดสัมมนาทางวิชาการในรูปแบบต่างๆ และได้ขยายการให้ความรู้ไปสู่การให้ความรู้รถยนต์ไฟฟ้า นอกจากนี้ยังให้ทุนการสนับสนุนการวิจัยและพัฒนารถยนต์ไฮบริดกับสถาบันการศึกษาต่างๆในประเทศไทย โดยรวมไปถึงการลงทุนตั้งสถานีชาร์จไฟฟ้าทั่วประเทศ 50 สถานี ซึ่งจะดำเนินการได้ครบถ้วนภายในปีนี้ ผลของการดำเนินยุทธศาสตร์ดังกล่าวส่งผลให้ปีนี้รถยนต์บีเอ็มดับเบิลยูปลั๊กอินไฮบริดมีอัตราการเติบโตสูงถึง 112 เปอร์เซ็นต์ นอกจากนี้ บีเอ็มดับเบิลยูยังได้ลงทุนเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีที่ศูนย์พัฒนา Autonomous เมืองมิวนิก ประเทศเยอรมนี เพื่อตอบโจทย์ยุทธศาสตร์ทางธุรกิจยานยนต์ในอนาคตของบีเอ็มดับเบิลยูทั่วโลก 4 แนวทาง ที่จะมาเป็น Value Change กุญแจดอกสำคัญของอุตสาหกรรมยานยนต์ คือ
A: Autonomous
E: Electrified
C: Connected
S: Services
สำหรับแนวทางการวิจัยและพัฒนารถยนต์ของบีเอ็มดับเบิลยูเพื่อตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าในอนาคต เพราะการที่สังคมไทยจะก้าวสู่สังคมรถไฟฟ้ายังต้องการโครงสร้างพื้นฐานที่เพียงเพื่อสร้างประโยชย์สูงสุดทั้งภาครัฐ เอกชน และผู้บริโภค
นายธีร์ เพิ่มพงศ์พันธ์ รองประธานฝ่ายการตลาดและรัฐกิจสัมพันธ์ บริษัท มาสด้า เซลส์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวถึงแนวทางการพัฒนารถยนต์มาสด้าในอนาคตว่า มาสด้า ยังคงยึดแนวคิด zoom-zoom มุ่งเน้นโมเดลธุรกิจ CASE : C=Connected, A=Autonomous, S=Shared, E=Electric ที่ยังคงวิสัยทัศน์ที่โลก ผู้คน และสังคม พร้อมวางแผนทิศทางของอุตสาหกรรมยานยนต์ไว้ว่า ปี 2573 จะลดการผลิตรถที่ใช้เครื่องยนต์สันดาปให้ได้ 50% และในปี 2593 จะลดเหลือเพียง 90% โดยตั้งเป้าหมายให้การผลิตรถยนต์เป็นรถไฟฟ้า แบบ ไฮบริด หรือปลั๊กอิน รวมไปทั้ง EV ให้ได้ 95% ของการผลิตรถทั้งหมด นอกจากนี้ทางมาสด้ายังมีแผนนำเสนอยานยนต์ไร้คนขับออกสู่ตลาดในปี 2568 โดยในอนาคต Mazda EV ก็จะยังคงเป็นรถที่อยู่ในวิสัยทัศน์ที่จะตอบโจทย์ นำเสนอให้มีการขับขี่ที่สุก มีความรับผิดชอบต่อโลก และเหมาะสมกับสังคม และผู้คน
“รถไฟฟ้าของทางมาสด้า ที่จะเกิดขึ้นจะเป็นการนำเครื่องโรตารี่มาใช้ในการสร้างกระแสไฟฟ้ากลับไปสู่แบตตอรี่ในรูปแบบไฮบริด รวมถึงจะมีการต่อยอดการผลิตให้รองรับ แก๊สแอลพีจี ทั้งนี้เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมถึงเรื่องของกระแสดไฟฟ้าที่อาจะมีผลกระทบจากพายุ หรือไฟฟ้าดับ สามารถนำเชื้อเพลิงจากแก๊ส แอลพีจี มาใช้กับรถ แล้วจ่ายไฟกลับไปยังเครื่องใช้ต่างๆ ในบ้าน” นายธีร์ กล่าว
ทางด้านนายองอาจ พงศ์กิจวรสิน นายกสมาคมอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย เปิดเผยว่า ปัจจุบันอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยมีการผลิตอยู่ในอันดับ 12 ของโลก อันดับ 4 ของเอเซีย และเป็นที่ 1 ของอาเซียนและโอเชียเนีย รวมถึงตะวันออกกลาง ซึ่งถือว่าประเทศไทยประสบความสำเร็จอย่างมากในการเป็นฐานการผลิตของอุตสาหกรรมยานยนต์ และที่สำคัญ ประเทศไทยยังติดอันดับหนึ่งในห้าของโลกในเรื่องของความคุ้มค่าในการผลิตเทียบเท่าญี่ปุ่น หรือประเทศชั้นนำของโลก ด้วยกระแสของโลกอุตสาหกรรมยานยนต์ปัจจุบันจะเห็นว่ามีแนวโน้มไปเรื่องของรถพลังงานไฟฟ้า หรือ อีวี ซึ่งเหตุผลของการเกิดอีวีนั้น เกิดขึ้นจากหลายปัจจัย ซึ่งสิ่งสำคัญที่สุดของ อีวี คือ มีมลภาวะน้อยกว่า เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และลดการใช้เชื้อเพลิง แต่ปัจจุบัน ในประเทศไทยยังไม่แพร่หลายมากนัก โดยมียอดขายรถอีวี ไม่ถึง 1% แต่อย่างไรก็ตามในหลายประเทศได้มีการพัฒนาและมีทิศทางนโยบายการใช้รถอีวี เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ตัวอย่างเช่น ยุโรปคาดว่าปี 2573 จะมีรถที่เป็นไฮบริดหรือปลั๊กอิน และ อีวี อยู่ที่ 20-30% ส่วนมหาอำนาจอย่างจีน ตั้งเป้าว่าในปี 2593 จีนจะใช้รถเป็นรถไฟฟ้าทั้งหมด ส่วนญี่ปุ่น มีการคาดการณ์ว่า 2593 จะลดก๊าซเรือนกระจก (Greenhouse Effect) ให้ได้ 80 % โดยในอนาคตอันใกล้รถยนต์ 100 คัน จะต้องเป็นรถไฟฟ้า 20-30%
สำหรับแนวทางการวิจัยและพัฒนารถยนต์ของบีเอ็มดับเบิลยูเพื่อตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าในอนาคต เพราะการที่สังคมไทยจะก้าวสู่สังคมรถไฟฟ้ายังต้องการโครงสร้างพื้นฐานที่เพียงเพื่อสร้างประโยชย์สูงสุดทั้งภาครัฐ เอกชน และผู้บริโภค
นายธีร์ เพิ่มพงศ์พันธ์ รองประธานฝ่ายการตลาดและรัฐกิจสัมพันธ์ บริษัท มาสด้า เซลส์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวถึงแนวทางการพัฒนารถยนต์มาสด้าในอนาคตว่า มาสด้า ยังคงยึดแนวคิด zoom-zoom มุ่งเน้นโมเดลธุรกิจ CASE : C=Connected, A=Autonomous, S=Shared, E=Electric ที่ยังคงวิสัยทัศน์ที่โลก ผู้คน และสังคม พร้อมวางแผนทิศทางของอุตสาหกรรมยานยนต์ไว้ว่า ปี 2573 จะลดการผลิตรถที่ใช้เครื่องยนต์สันดาปให้ได้ 50% และในปี 2593 จะลดเหลือเพียง 90% โดยตั้งเป้าหมายให้การผลิตรถยนต์เป็นรถไฟฟ้า แบบ ไฮบริด หรือปลั๊กอิน รวมไปทั้ง EV ให้ได้ 95% ของการผลิตรถทั้งหมด นอกจากนี้ทางมาสด้ายังมีแผนนำเสนอยานยนต์ไร้คนขับออกสู่ตลาดในปี 2568 โดยในอนาคต Mazda EV ก็จะยังคงเป็นรถที่อยู่ในวิสัยทัศน์ที่จะตอบโจทย์ นำเสนอให้มีการขับขี่ที่สุก มีความรับผิดชอบต่อโลก และเหมาะสมกับสังคม และผู้คน
“รถไฟฟ้าของทางมาสด้า ที่จะเกิดขึ้นจะเป็นการนำเครื่องโรตารี่มาใช้ในการสร้างกระแสไฟฟ้ากลับไปสู่แบตตอรี่ในรูปแบบไฮบริด รวมถึงจะมีการต่อยอดการผลิตให้รองรับ แก๊สแอลพีจี ทั้งนี้เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมถึงเรื่องของกระแสดไฟฟ้าที่อาจะมีผลกระทบจากพายุ หรือไฟฟ้าดับ สามารถนำเชื้อเพลิงจากแก๊ส แอลพีจี มาใช้กับรถ แล้วจ่ายไฟกลับไปยังเครื่องใช้ต่างๆ ในบ้าน” นายธีร์ กล่าว
ทางด้านนายองอาจ พงศ์กิจวรสิน นายกสมาคมอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย เปิดเผยว่า ปัจจุบันอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยมีการผลิตอยู่ในอันดับ 12 ของโลก อันดับ 4 ของเอเซีย และเป็นที่ 1 ของอาเซียนและโอเชียเนีย รวมถึงตะวันออกกลาง ซึ่งถือว่าประเทศไทยประสบความสำเร็จอย่างมากในการเป็นฐานการผลิตของอุตสาหกรรมยานยนต์ และที่สำคัญ ประเทศไทยยังติดอันดับหนึ่งในห้าของโลกในเรื่องของความคุ้มค่าในการผลิตเทียบเท่าญี่ปุ่น หรือประเทศชั้นนำของโลก ด้วยกระแสของโลกอุตสาหกรรมยานยนต์ปัจจุบันจะเห็นว่ามีแนวโน้มไปเรื่องของรถพลังงานไฟฟ้า หรือ อีวี ซึ่งเหตุผลของการเกิดอีวีนั้น เกิดขึ้นจากหลายปัจจัย ซึ่งสิ่งสำคัญที่สุดของ อีวี คือ มีมลภาวะน้อยกว่า เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และลดการใช้เชื้อเพลิง แต่ปัจจุบัน ในประเทศไทยยังไม่แพร่หลายมากนัก โดยมียอดขายรถอีวี ไม่ถึง 1% แต่อย่างไรก็ตามในหลายประเทศได้มีการพัฒนาและมีทิศทางนโยบายการใช้รถอีวี เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ตัวอย่างเช่น ยุโรปคาดว่าปี 2573 จะมีรถที่เป็นไฮบริดหรือปลั๊กอิน และ อีวี อยู่ที่ 20-30% ส่วนมหาอำนาจอย่างจีน ตั้งเป้าว่าในปี 2593 จีนจะใช้รถเป็นรถไฟฟ้าทั้งหมด ส่วนญี่ปุ่น มีการคาดการณ์ว่า 2593 จะลดก๊าซเรือนกระจก (Greenhouse Effect) ให้ได้ 80 % โดยในอนาคตอันใกล้รถยนต์ 100 คัน จะต้องเป็นรถไฟฟ้า 20-30%
“ทางด้านเทคโนโลยียานยนต์ในอนาคตสิ่งที่จะเกิดขึ้น ก็คงไม่พ้นเรื่องของแบตเตอรี่จะถูกพัฒนาให้ได้ระยะการขับขี่ได้ไกลขึ้น ต่อมาเรื่องแรงบิดที่จะถูกพัฒนาให้สามารถลากจูงของที่มีขนาดใหญ่ได้ อันต่อมาก็คงไม่พ้นเรื่องราคาที่ถูกลง และสุดท้ายคือการได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้รถไฟฟ้าเกิดขึ้นมาได้เร็วยิ่งขึ้น สุดท้ายคือ ประเทศไทยจะรักษาฐานการผลิต 3 ล้านคัน และรักษามาตรฐานการผลิตเหนือคู่แข่งในตลาด จึงจำเป็นที่จะต้องเตรียมตัว และเปลี่ยนแปลงการผลิตรถไฟฟ้า เพราะอย่างไร รถไฟฟ้าเกิดขึ้นอย่างแน่นอน ไม่ช้าก็เร็ว” นายองอาจ กล่าว
ขณะที่นางสาวสุรีทิพย์ ละอองทอง โฉมทองดี รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายการตลาด บริษัท นิสสัน มอเตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด มองแนวโน้มตลาดรถยนต์ว่า ในฐานะที่นิสสันเป็นบริษัทข้ามชาติ การกำหนดกลยุทธ์และทิศทางการดำเนินธุรกิจจึงเป็นกลยุทธ์ระดับโลกเพื่อตอบโจทย์การตลาดทั่วโลก ซึ่งจะขับเคลื่อนภายใต้ปรัชญา “Nissan Intelligent Mobility : NIM” คือเทคโนโลยีอัจฉริยะเพื่อการขับขี่ในอนาคตที่นิสสันพัฒนาขึ้นมาเพื่อมอบประสบการณ์การขับขี่ที่ดีที่สุดให้ผู้ขับขี่ ซึ่งจะเป็นการเชื่อมต่อระว่างระบบนิเวศ ชุมชน และผู้ขับขี่เข้าด้วยกัน นับเป็นกุญแจสำคัญสู่โลกสะอาดและปลอดภัย นับจากนี้ไปนิสสันจะสร้างแบรนด์เพื่อสร้างการรับรู้ด้วยองค์ประกอบดังต่อไปนี้ คือ
Nissan Intelligent Power: ความก้าวล้ำของระบบขับเคลื่อน
Nisssan Intelligent Driving: ความก้าวล้ำของการขับขี่
Nissan Intelligent Integration: ความก้าวล้ำของการผสานเทคโนโลยี
จากข้อมูลการวิจัยของสำนักงานสถิติแห่ง ล่าสุดระบุว่า ในปี 2573 ประเทศไทยจะก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุเต็มรูปแบบการเคลื่อนไหว และการเชื่อมต่อ (Mobility + Connected) จะเข้ามาอยู่บนรถยนต์และเคลื่อนไหวไปพร้อมกับรถและผู้ขับขี่
“ต้องยอมรับว่าเทคโนโลยีอะไรก็ตาม จะเกิดขึ้นได้ต้องมาจากความต้องการของผู้บริโภค (Demand) รถยนต์ไฟฟ้าที่กำลังจะเข้ามาสู่อุตสาหกรรมยานยนต์ก็เช่นกัน จากข้อมูลของนิสสันระบุว่า มีคนจำนวนมากถึง 40 เปอร์เซ็นต์ มีความสนใจที่จะซื้อรถยนต์ไฟฟ้า โดยมีจำนวน 1 ใน 3 ยินดีที่จะจ่ายเงินเพิ่มอีก 5 เปอร์เซ็นต์ เพื่อที่จะได้เทคโนโลยีรถยนต์ไฟฟ้า ต้องยอมรับว่าอนาคตยานยนต์ปฏิเสธไม่ได้ในสิ่งที่กำลังจะมาถึง ดังนั้นค่ายรถยนต์ต้องเร่งให้ความรู้เตรียมความพร้อมกับสิ่งที่เกิดขึ้นในอนาคต” นางสาวสุรีทิพย์ กล่าวในที่สุด
ขณะที่นางสาวสุรีทิพย์ ละอองทอง โฉมทองดี รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายการตลาด บริษัท นิสสัน มอเตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด มองแนวโน้มตลาดรถยนต์ว่า ในฐานะที่นิสสันเป็นบริษัทข้ามชาติ การกำหนดกลยุทธ์และทิศทางการดำเนินธุรกิจจึงเป็นกลยุทธ์ระดับโลกเพื่อตอบโจทย์การตลาดทั่วโลก ซึ่งจะขับเคลื่อนภายใต้ปรัชญา “Nissan Intelligent Mobility : NIM” คือเทคโนโลยีอัจฉริยะเพื่อการขับขี่ในอนาคตที่นิสสันพัฒนาขึ้นมาเพื่อมอบประสบการณ์การขับขี่ที่ดีที่สุดให้ผู้ขับขี่ ซึ่งจะเป็นการเชื่อมต่อระว่างระบบนิเวศ ชุมชน และผู้ขับขี่เข้าด้วยกัน นับเป็นกุญแจสำคัญสู่โลกสะอาดและปลอดภัย นับจากนี้ไปนิสสันจะสร้างแบรนด์เพื่อสร้างการรับรู้ด้วยองค์ประกอบดังต่อไปนี้ คือ
Nissan Intelligent Power: ความก้าวล้ำของระบบขับเคลื่อน
Nisssan Intelligent Driving: ความก้าวล้ำของการขับขี่
Nissan Intelligent Integration: ความก้าวล้ำของการผสานเทคโนโลยี
จากข้อมูลการวิจัยของสำนักงานสถิติแห่ง ล่าสุดระบุว่า ในปี 2573 ประเทศไทยจะก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุเต็มรูปแบบการเคลื่อนไหว และการเชื่อมต่อ (Mobility + Connected) จะเข้ามาอยู่บนรถยนต์และเคลื่อนไหวไปพร้อมกับรถและผู้ขับขี่
“ต้องยอมรับว่าเทคโนโลยีอะไรก็ตาม จะเกิดขึ้นได้ต้องมาจากความต้องการของผู้บริโภค (Demand) รถยนต์ไฟฟ้าที่กำลังจะเข้ามาสู่อุตสาหกรรมยานยนต์ก็เช่นกัน จากข้อมูลของนิสสันระบุว่า มีคนจำนวนมากถึง 40 เปอร์เซ็นต์ มีความสนใจที่จะซื้อรถยนต์ไฟฟ้า โดยมีจำนวน 1 ใน 3 ยินดีที่จะจ่ายเงินเพิ่มอีก 5 เปอร์เซ็นต์ เพื่อที่จะได้เทคโนโลยีรถยนต์ไฟฟ้า ต้องยอมรับว่าอนาคตยานยนต์ปฏิเสธไม่ได้ในสิ่งที่กำลังจะมาถึง ดังนั้นค่ายรถยนต์ต้องเร่งให้ความรู้เตรียมความพร้อมกับสิ่งที่เกิดขึ้นในอนาคต” นางสาวสุรีทิพย์ กล่าวในที่สุด
COMMENTS